VOL.1 : การทำ Optimization สำหรับ Air Compressor Operation

เมื่อปี 2023 เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทาง IEC ได้ออกมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการพลังงาน (FEMS) ฉบับ IEC63376 โดยมาตราฐานอุตสาหกรรมนี้ ระบุฟังก์ชั่น และข้อมูลที่ต้องใช้ในระบบการจัดการพลังงานสำหรับส่วนสนับสนุน (Facility, Utility) ของโรงงงานอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับระบบการจัดการพลังงาน (EMS-Energy Management System) แบบที่มีอยู่เดิมที่มุ่งเน้นการแสดงผล (Virtualization) ด้านการใช้พลังงาน ไปสู่การจัดการพลังงานให้เป็นระบบควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการของบริษัทอัซบิลที่ได้ดำเนินการอยู่คือ มุ่งเน้นที่การใช้ระบบควบคุมทำการควบคุมการทำงานของ Air Compressor

รูปที่ 1 : แสดง Air Compressor

AC : Air Compressor, PC : Pressure Controller, PI : Pressure Indicator

โดยระบบควบคุมจะใช้หลักการ Deman Response Control ทำการหยุด (stop Air Compressors) ที่ไม่จำเป็นแบบอัตโนมัติ และปรับตั้งค่าความดัน (Pressure setpoint) ตามความต้องการ (Demand) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรวม

รูปที่ 2 : แสดงการควบคุม Air Compressor

SP : Set Point, BOV : Blow Off Valve, IGV : Inlet Guide Vane

  1. การเลือกหยุด Compressor ที่มีประสิทธิภาพต่ำ และเลือกใช้งาน Compressor ที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยการวัดหาประสิทธิภาพจริง และให้ระบบควบคุมจัดอันดับการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการ Demand จัดให้มีการใช้งานการวัดและควบคุมความดันให้เหมาะสม

รูปที่ 3 : แสดงการควบคุมอันดับการทำงานของแต่ละ Compressor

  1. ลดการรั่วไหลและลดการจ่ายลมเกินความต้องการด้วยการใช้กลไก ของวาล์วควบคุม ร่วมกับ Pressure Control ที่ฝั่ง Demand เมื่อไม่ใช้งานก็ให้สามารถปิดกลไกการจ่ายลมได้ เมื่อใช้งานน้อยก็ให้สามารถปรับกลไกการจ่ายลมให้น้อยลงได้

รูปที่ 4 : แสดงการลดการรั่วไหลและลดการจ่ายลมเกินความต้องการ

PIC : Pressure Indicating Controller

  1. ลดการระบายลมเกินทิ้ง (Blow Off) เพื่อลดการใช้พลังงานผลิตลมอัดอากาศที่เกินความต้องการ ด้วยการใช้ความร่วมมือระหว่างการควบคุม IGV และการควบคุม Load/Unload ของ Compressor

ทั้งหมดนี้ระบบควบคุมการทำ Optimization สำหรับ Air Compressor ของอัซบิลจะสามารถช่วยให้ประหยัดพลังงานได้ 10% - 30% รายละเอียดโปรดติดต่อทีมงานบริษัทอัซบิล